การทำความเข้าใจ และเรียนรู้เรื่องระดับน้ำตาลในเลือด จัดเป็นเรื่องสำคัญของการควบคุม หรือการรักษาโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมนั้นจะแตกต่างกันไปตลอดทั้งวัน และยังมีความแตกต่างกันในแต่ละคนด้วย โดยที่ระดับน้ำตาลในเลือดมักจะต่ำที่สุดก่อนอาหารเช้า และ มักจะสูงที่สุดในไม่กี่ชั่วโมงหลังอาหาร โดยในผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีการกำหนดเป้าหมายของระดับน้ำตาลในเลือดเป็นช่วงๆ โดยที่การกำหนดเป้าหมายของระดับน้ำตาลในเลือดจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยหลายประการ เช่น
- อายุ
- เงื่อนไขสุขภาพอื่น ๆ หรือ ภาวะเจ็บป่วย
- ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- ปัญหาเรื่องการมองเห็น ไต สมอง
- นิสัยส่วนตัว และปัจจัยในการดำเนินชีวิต
- ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ความตึงเครียด
“เป้าหมายของระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน “
ค่าระดับน้ำตาลในเลือดตามเกณฑ์มาตฐาน
ค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ระยะเวลาต่างๆ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ 2 หรือ เบาหวานในขณะตั้งครรภ์ โดยอ้างอิงตาม American Diabetes Association (ADA), Joslin Diabetes Center (JDC), และ American Association of Clinical Endocrinologists (AACE) ดังนี้
ช่วงเวลา | ค่าระดับน้ำตาลในเลือด (คนปกติ) | เป้าหมายของค่าระดับน้ำตาลในเลือด (คนเป็นเบาหวาน) |
---|---|---|
หลังตื่นนอน ก่อนอาหารเช้า | ต่ำกว่า 100 mg/dL | อยู่ระหว่าง 80 – 130 mg/dL (ADA) อยู่ระหว่าง 70-130 mg/dL (JDC) ต่ำกว่า 110 mg/dL (AACE) |
ก่อนอาหาร | ต่ำกว่า 110 mg/dL | อยู่ระหว่าง 70-130 mg/dL (JDC) |
1 – 2 ชม.หลังอาหาร | ต่ำกว่า 140 mg/dL | ต่ำกว่า 180 mg/dL (ADA & JDC) ต่ำกว่า 140 mg/dL (AACE) |
ก่อนนอน | ต่ำกว่า 120 mg/dL | อยู่ระหว่าง 90 – 150 mg/dL (JDC) |
ค่า HbA1C | ต่ำกว่า 5.7 % | ต่ำกว่า 7 % |
ค่าระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับคนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
การแปลผลค่าระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานและเป้าหมายของแต่ละคน โดยระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีสำหรับคนคนหนึ่งอาจสูงหรือต่ำเกินไปสำหรับอีกคนหนึ่ง
ค่าระดับน้ำตาลในเลือด | ดีมาก | ดี | พอใช้ |
---|---|---|---|
ก่อนอาหาร | 72 – 109 mg/dL | 110 – 144 mg/dL | 145 – 180 mg/dL |
1-2 ชม.หลังอาหาร | 90 – 126 mg/dL | 127 – 180 mg/dL | 181 – 234 mg/dL |
ค่าระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับคนที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
การแปลผลค่าระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานและเป้าหมายของแต่ละคน โดยระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีสำหรับคนคนหนึ่งอาจสูงหรือต่ำเกินไปสำหรับอีกคนหนึ่ง
ช่วงเวลา | เป้าหมายของค่าระดับน้ำตาลในเลือด |
---|---|
หลังตื่นนอน ก่อนอาหารเช้า | 60 – 90 mg/dL |
ก่อนอาหาร | 60 – 90 mg/dL |
1 ชม.หลังอาหาร | 100 – 120 mg/dL |
1 ชม.หลังอาหาร | 100 – 120 mg/dL |
1 ชม.หลังอาหาร | 100 – 120 mg/dL |
1 ชม.หลังอาหาร | 100 – 120 mg/dL |
1 ชม.หลังอาหาร | 100 – 120 mg/dL |
ค่าระดับน้ำตาล กับความรุนแรงของโรค
นอกจจากเราจะกำหนดเป้าหมายของการรักษาด้วยระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ค่าระดับน้ำตาลในเลือดยังสามารถบอกถึงความเสี่ยงต่ออาการ หรือ โรคต่างๆได้ด้วย
Fasting blood sugar / ค่าระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า | ความเสี่ยง และ คำแนะนำ |
---|---|
ต่ำกว่า 50 mg/dL | ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจนอันตราย | ให้รีบพบแพทย์ |
70 – 90 mg/dL | ค่อนข้างต่ำ | ให้กินน้ำตาลหากมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำหรือไปพบแพทย์ |
90-120 mg/dL | ค่าปกติ |
120-160 mg/dL | สูงปากกลาง | ไปพบแพทย์ & ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม |
160 – 240 mg/dL | สูง | ไปพบแพทย์ & ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม |
240-300 mg/dL | สูง | ดูเหมือนว่าจะควบคุมเบาหวานไม่ได้ & ไปพบแพทย์ |
มากกว่า 300 mg/dL | สูงมาก | ควรรีบรับการรักษาโดยด่วน ให้รีบพบแพทย์ |
ถ้าค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ควรทำอย่างไร
- จำกัดปริมาณของคาร์โบไฮเดรตในแต่ละมื้อ
- กินผักเพื่อเพิ่มปริมาณใยอาหาร
- ดื่มน้ำเปล่าเพื่อรักษาความชุ่มชื้น และเจือจางน้ำตาลในเลือดส่วนเกิน
- เพิ่มการออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญน้ำตาลในเลือดส่วนเกิน
- งดเครื่องดื่มที่มีรสหวาน และหลีกเลี่ยงอาการแปรรูป
ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยแค่ไหน
การตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดเป็นเรื่องสำคัญของการรักษาโรคเบาหวาน และการตรวจค่าระดับน้ำตาลที่ดีที่สุดมักจะต้องทำทั้งที่บ้านด้วยตัวเองและที่โรงพยาบาล (HbA1C)
สำหรับการตรวจสอบค่าระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ส่วนมากสามารถใช้เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (ใช้เลือดที่ได้จากปลายนิ้ว สัมผัสลงบนแถบทดสอบ) ซึ่งด้วยเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดส่วนมากอ่านค่าน้ำตาลในเลือดเป็น mg / dL
การติดตามการเปลี่ยนแปลงค่าระดับน้ำตาลในเลือดในแต่ละวันสามารถช่วยทำให้เข้าใจว่าแผนการรักษาที่มีอยู่ตอนนี้ได้ผลหรือไม่ และควรปรับขนาดยาหรือกิจกรรมเพิ่มเติมอย่างไร เพื่อให้ถึงเป้าหมายของการรักษา นอกจากนี้การตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยๆยังสามารถช่วยสะท้อนผลของอาหารและการออกกำลังกาย
ความถี่ของการตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดนั้นแตกต่างกันไปตามแผนการรักษาแต่ละแบบ รวมถึงชนิดหรือระยะของโรคเบาหวานด้วย ได้แก่
- ความถี่ในการตรวจค่าระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
ผู้ใหญ่: อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และอาจมากถึง 10 ครั้งต่อวัน เช่น ก่อนอาหารเช้า, ก่อนอาหารกลางวัน และ เย็น, 2 ชั่วโมงหลังอาหาร, ก่อนและหลังการออกกำลังกาย, ก่อนนอน
เด็ก: อย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง โดยควรทำการทดสอบเวลาต่างๆ เช่น ก่อนมื้ออาหาร, ก่อนนอน, หลังอาการ 1-2 ชั่วโมง, ก่อนและ หลังออกกำลังกาย เป็นต้น
- ความถี่ในการตรวจค่าระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ความถี่ของการทดสอบที่แนะนำจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปริมาณอินซูลินที่ใช้ และการใช้ยา สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่ ที่ยังไม่ได้ใช้อินซูลินอาจจะไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบบ่อยๆ แต่การตรวจค่าน้ำตาลในเลือดระหว่างวันจะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบแบบเรียลไทม์ของกิจกรรม
- ความถี่ในการตรวจค่าระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ผู้ที่ใช้อินซูลินควรทำการตรวจค่าระดับน้ำตาลก่อนอาหาร และ 1 ชั่วโมงหลังอาหาร ส่วนผู้ที่ไม่ได้ใช้อินซูลินควรทำการตรวจค่าระดับน้ำตาลตอนงดอาหารและ 1 ชั่วโมงหลังอาหาร