วิธีรักษาโรคเบาหวาน ให้หายขาด มีจริงหรือ?

วิธีรักษาโรคเบาหวานให้หายขาด

ตามหลักการแพทย์ตะวันตกอธิบายว่า ยังไม่มีวิธีการรักษาใดๆที่ทำให้โรคเบาหวานหายขาดได้ 100% เพียงแต่ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถเข้าสู่ระยะสงบของโรคได้ (remission) คือ ไม่แสดงอาการ และมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในค่าปกติ เหมือนกับหายจากโรคแล้ว

โรคเบาหวาน Diabetes


โรคเบาหวาน คือ อะไร?

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน ซึ่งมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อเรากินอาหารเข้าไป ร่างกายก็จะทำการย่อยแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) เป็นน้ำตาลกลูโคส แล้วจึงดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด โดยที่อินซูลินจะทำหน้าที่นำน้ำตาลไปยังเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆเพื่อใช้ในการสร้างพลังงาน หากตับอ่อนผิดปกติ ไม่สามารถที่จะสร้างอินซูลินได้ หรือ สร้างได้น้อย หรือ เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือ การตอบสนองของอินซูลินลดลง ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เพราะร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ จึงทำให้มีอาการอ่อนเพลีย หิวน้ำบ่อย และเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เวลาเลือดผ่านไต น้ำตาลส่วนหนึ่งก็จึงถูกขับออกทางไตผ่านปัสสาวะ จึงเรียกว่า เบาหวาน และหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงนานๆ ก็จะทำให้มีความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆตามมา หรือที่เรียกว่า อาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน


โรคเบาหวานหายขาด ได้จริงไหม?

ปัจจุบันตามหลักการแพทย์ตะวันตกอธิบายว่า ยังไม่มีวิธีการรักษาใดๆที่ทำให้โรคเบาหวานหายขาดได้ 100% เพียงแต่ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถเข้าสู่ระยะสงบของโรคได้ (remission) คือ ไม่แสดงอาการ และมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในค่าปกติ เหมือนกับหายจากโรคแล้วซึ่งระยะสงบ หรือ ภาวะสงบนี้ อาจจะยาวนานได้เป็นเดือนๆ เป็นปี หรือ หลายสิบปี ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะเข้าสู่ภาวะสงบ เหมือนรักษาเบาหวานหายขาดแล้วก็ตาม ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพ ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอยู่เสมอ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล และป้องกันอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เพื่อไม่ให้เบาหวานกลับมาเป็นซ้ำอีก ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า วิธีที่ดีที่สุด…. ก็คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวาน ซึ่งการป้องกันสามารถทำได้ง่ายกว่าด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ

โรคเบาหวาน Diabetes

“สิ่งสำคัญในการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ”


ภาวะสงบ ของ เบาหวาน คือ?

แม้ว่าโรคเบาหวานจะรักษาไม่หายขาด แต่ก็สามารถอยู่ในภาวะสงบเหมือนคนปกติ แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วโรคเบาหวานนี้ยังคงอยู่ก็ตาม ถึงแม้ว่าแพทย์เองยังสรุปไม่ได้ถึงเหตุผลที่ทำให้เข้าสู่ภาวะสงบนี้คืออะไรกันแน่ แต่ก็เป็นที่แน่ชัดว่าปัจจัยสำคัญก็คือค่า A1C ที่ต่ำกว่า 6%


แม้ว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานจะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ได้นาน 20 ปี แพทย์ก็ยังถือว่าโรคเบาหวานนั้นอยู่ในภาวะทุเลาลงแทนที่จะหายขาด

Partial remission:

เมื่อผู้ป่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำกว่าผู้ป่วยเบาหวานอย่างน้อย 1 ปีโดยไม่ต้องใช้ยารักษาโรคเบาหวาน

Complete remission:

เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดกลับสู่ระดับปกติอย่างสมบูรณ์ เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปีโดยไม่ต้องใช้ยาใด ๆ

Prolonged remission:

เมื่ออยู่ในภาวะสงบอย่างสมบูรณ์เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี ก็จะถือว่าเป็น prolonged remission


วิธีรักษาโรคเบาหวาน แบบแพทย์ตะวันตก

หลักในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานขึ้นอยู่กับชนิดของเบาหวาน ซึ่งประกอบด้วย การใช้ ยารักษาโรคเบาหวาน (การฉีดอินซูลินสำหรับเบาหวานชนิดที่ 1 และยากินหรือฉีดอินซูลินร่วมด้วยสำหรับเบาหวานชนิดที่ 2) และการปรับวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก

ในการปรับวิถีชีวิต หรือพฤติกรรมความเป็นอยู่ ควรต้องปรับในเรื่องอาหารการกิน คือ ต้องควบคุมอาหารโดยมีเป้าหมายเพื่อให้น้ำหนักลดลงช้าๆ มากกว่าที่จะพยายามททำให้น้ำหนักเป็นปกติ และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รวมทั้งเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ดต่างๆ และควรออกกำลังกายอยู่เป็นประจำวันละ 30 – 60 นาที และลดการอยู่นิ่งๆ หรือนอนดูโทรทัศน์ และเล่นเกมคอมพิวเตอร์ แม้ว่าในปัจจุบัน โรคเบาหวานเป็นโรคที่ยังรักษาไม่หายขาด และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ก็อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้

นอกจากนี้ การให้ผู้ป่วยโรคเบาวานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งสาเหตุและการดำเนินของโรค เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เช่นเดียวกันกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว หากครอบครัวให้ความร่วมมือในการปรับเลี่ยนพฤติกรรมก็จะทำให้การรักษาประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

ในการรักษา แพทย์จะกำหนดเป้าหมายของการรักษาเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าใกล้เคียงกับระดับปกติอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสามารถแบ่งออกตามกลุ่มผู้ป่วย ดังนี้

การรักษาโรคเบาหวาน ชนิดที่ 1

เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ จึงต้องวางแผนเรื่องการออกกำลังกาย การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง และการฉีดอินซูลินแบบหลายครั้งในหนึ่งวัน (MDI)

วิธีรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1

โรคเบาหวานประเภท 1 คาดว่าสาเหตุเกิดจากภูมิต้านตนเองทำลายเบต้าเซลล์ของตับอ่อนโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้ความสามารถในการผลิตอินซูลินลดลง

เมื่อตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเพียงพอ จึงต้องได้รับการรักษาด้วยยาฉีดอินซูลิน

อินซูลิน

การฉีดอินซูลินเป็นการรักษาในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 1 ซึ่งก็ต้องฝึกฉีดยาด้วยตัวเองที่บ้าน

ยาฉีดอินซูลินมีหลายแบบแตกต่างกันไปตามความเร็วในการออกฤทธิ์ และการเลียนแบบระดับฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติของร่างกาย

การรักษาโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2

วิธีการรักษาได้แก่การควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน การออกกำลังกาย การตรวจระดับน้ำตาลด้วยตนเอง และมีการใช้ยารักษาเบาหวานร่วมด้วย (มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประมาณ 40% ที่ต้องฉีดอินซูลินร่วมด้วย) นอกจากการใช้ยาแผนปัจจุบันแล้ว การรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกรวมทั้งการใช้สมุนไพรรักษาเบาหวานก็เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันเช่นกัน

วิธีรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2

แม้ว่าการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย จะสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ แต่คนส่วนใหญ่ที่มีอาการดังกล่าวก็จะต้องใช้ยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด และ ช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลิน

ในทางปฏิบัติ หมออาจสั่งยาแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและอาการของโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นธรรมดาที่การใช้ยาหลายชนิดร่วมกันก็จะมีค่าใช้จ่ายสูง และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดผลข้างเคียง แต่ก็จะมีผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่า

Alpha-glucosidase

ยาลดเบาหวานที่ออกฤทธิ์โดย ป้องกันแป้งไม่ให้แตกตัว ลดการดูดซึมสารอาหาร จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เวลากินก็ควรกินคู่ไปกับมื้ออาหาร เช่น Acarbose และ Miglitol

Biguanides

ยารักษาโรคเบาหวานกลุ่มนี้ เป็นยายอดนิยมที่คนเป็นเบาหวานมักจะได้รับจากโรงพยาบาล เช่น Metformin ซึ่งออกฤทธิ์โดยกระตุ้นให้ตับสร้างกลูโคสน้อยลง และให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลิน หรือ เพิ่มความไวในการตอบสนองต่ออิสซูลินได้ดีขึ้น

Bile acid sequestrants (BASs)

Colesevelam เป็น BAS ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด โดยที่ยาเหล่านี้ไม่เข้าสู่กระแสเลือด จึงนิยมใช้กับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ

Dopamine-2 agonists

ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร ตัวอย่าง ได้แก่ Bromocriptine

Sulfonylureas

ยารักษาเบาหวานกลุ่มนี้ ออกฤทธิ์โดยกระตุ้นให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินมากขึ้น ซึ่งยากลุ่มนี้ เป็นยาที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน เช่น Chlorpropamide, Glimepiride, Glipizide และ Glyburide

DPP-4 inhibitors

ยาลดเบาหวานที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ในระยะยาวโดยไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีกลไกการออกฤทธิ์ที่ทำให้สาร GLP-1 ยังคงอยู่ในร่างกายนานขึ้น เช่น Alogliptin, Linagliptin, Saxagliptin และ Sitaglipti

Meglitinides:

ยารักษาเบาหวานที่ออกฤทธฺ์โดยการกระตุ้นเบต้าเซลล์ในตับอ่อนให้สร้างอินซูลิน เช่น Nateglinide และ Repaglinide


สารยับยั้ง SGLT2: สิ่งเหล่านี้การทำงานของโปรตีนที่เรียกว่า SGLT2 ที่ดูดซับกลูโคสเข้าสู่ไตอีกครั้ง สิ่งนี้จะช่วยกระตุ้นร่างกายให้ปล่อยกลูโคสในปัสสาวะ ทำให้ระดับในเลือดลดลง นี่คือยากลุ่มใหม่ที่มีคานากลิโฟลซิน ดาพากลิโฟลซิน และเอ็มพากลิโฟลซิน

Sulfonylureas: ทำให้เกิดการหลั่งอินซูลินออกจากเซลล์เบต้ามากขึ้น Sulfonylureas เป็นยาที่เก่ากว่า และ sulfonylurea รุ่นแรกเพียงคนเดียวที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบันคือ chlorpropamide Glimepiride, glipizide และ glyburide เป็นยาตัวใหม่ที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยลง

Thiazolidinediones: ช่วยปรับปรุงการทำงานของอินซูลินในไขมันและกล้ามเนื้อ รวมทั้งลดการผลิตกลูโคสในตับ คลาสนี้รวมถึง rosiglitazone และ pioglitazone

SGLT2 inhibitors

ยารักษาโรคเบาหวานกลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยขัดขวางการทำงานของโปรตีนที่เรียกว่า SGLT2 ที่ทำหน้าที่ดูดซับกลูโคสเข้าสู่ไตอีกครั้ง จึงช่วยกระตุ้นร่างกายให้ปล่อยกลูโคสออกไปในปัสสาวะ ทำให้ระดับในเลือดลดลง เช่น Canagliflozin, Dapagliflozin, Empagliflozin

Thiazolidinediones

ยารักษาโรคเบาหวานกลุ่มนี้ จะช่วยปรับปรุงการทำงานของอินซูลินในเนื้อเยื่อไขมันและกล้ามเนื้อ ตลอดจนลดการสร้างกลูโคสในตับ เช่น Rosiglitazone และ Pioglitazone

การรักษาโรคเบาหวาน ให้หายขาดด้วย Stem Cell ทำได้หรือไม่

เซลล์ต้นกำเนิด หรือ Stem Cell คือ เซลล์ที่สามารถพัฒนาเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จกับการทดลองรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ด้วย Stem Cell ซึ่งวิธีนี้อาจเป็นหนทางในการรักษาให้หายขาดในอนาคต


การปลูกถ่ายเซลล์ในตับอ่อนเพื่อ รักษาโรคเบาหวาน ทำได้หรือไม่

การปลูกถ่ายเซลล์เป็นเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาอยู่ในขั้นตอนวิจัยอยู่ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทำการปลูกถ่ายสำเร็จ ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายจะต้องทานยาตลอดชีวิตเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายปฏิเสธเซลล์ของผู้บริจาค แต่ข้อดีก็คือเซลล์ตับอ่อนใหม่จะเริ่มสร้างและปล่อยอินซูลินเพื่อตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะมีบทบาทอย่างมากต่อการป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในระยะยาว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต และโรคที่เกิดจากความเสียหายของเส้นประสาท และตาเช่นเดียวกันกับ การปลูกถ่ายตับอ่อน ที่มักจะทำในผู้ป่วยที่มีโรคไตระยะสุดท้าย การปลูกถ่ายตับอ่อนจะช่วยฟื้นฟูความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

“ยังมีกลุ่มคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่สูงพอที่จะเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 (เราเรียกว่า ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน หรือ prediabetes) ก็จะไม่แสดงอาการใดๆที่บ่งบอกว่าเป็นเบาหวานเลย แต่ว่าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ก็มักจะพัฒนากลายเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ในที่สุด และค่อยๆแสดงอาการออกมาภายหลัง“

Image Description

ขอขอบคุณ กลูคอน ผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ - เบาหวาน แชนแนล

สมุนไพรแก้เบาหวาน ช่วยปรับให้ ค่าน้ำตาลในเลือด ปกติ

ลดระดับ HbA1c

HbA1c เป็นตัวบ่งชี้สำคัญของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาวโดยกลูคอนได้แสดงให้เห็นถึงการลดระดับ HbA1c ซึ่งสะท้อนถึงการจัดการโรคเบาหวานโดยรวมที่ดีขึ้น และการลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน เบาหวาน

มีสารต้านอนุมูลอิสระ

กลูคอนเป็นแหล่งรวมวัตถุดิบที่มีฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในร่างกาย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ กลูคอนจึงช่วยส่งเสริมสุขภาพโดยรวมให้ดียิ่งขึ้น

มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและกินง่าย

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นเรื่องสะดวกและง่ายดาย เพียงแค่รับประทานกลูคอนครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง (เช้า – เย็น) แต่อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์เสริมใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีปัญหาสุขภาพอื่นๆร่วมด้วย

วิธีรักษาเบาหวานแบบธรรมชาติบำบัด

ธรรมชาติบำบัด:

การบำบัดด้วยวิธีตามธรรมชาติ เช่น การหายใจลึกๆ ในช่องท้อง การผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้า ภาพที่มีการนำทาง และการตอบสนองทางชีวภาพสามารถช่วยบรรเทาความเครียดได้ และความเครียดทางอารมณ์ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของคุณ ดังนั้นการเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายจึงมีความสำคัญในการจัดการโรคเบาหวานของคุณ แต่ก็ไม่ได้ทำให้โรคเบาหวานหายขาด

อาหารเสริมลดเบาหวาน

อาจจะสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือทำให้สุขภาพดีขึ้น แต่ก็ไม่สามารถรักษาโรคเบาหวานให้หายขาดได้เช่นกัน นอกจากนี้อาหารเสริมจากธรรมชาติบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคเบาหวานได้ หากใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันอย่างไม่มีความรู้ความเข้าใจ

คำถามที่พบบ่อย


โรคเบาหวาน ภาษาอังกฤษ คือ อะไร

โรคเบาหวาน ในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า diabetes โดย โรคเบาหวานที่พูดถึงส่วนมาก มักจะหมายถึง โรคเบาหวานประเภท 2 ที่จะเริ่มมีอาการในผู้ใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัย (เด็กและวัยรุ่นก็อาจเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 นี้ได้เช่นกัน) โรคเบาหวานประเภท 2 เป็นภาวะเรื้อรังที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง (กลูโคส) ที่เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสม

ฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกาย เปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นพลังงานชื่อว่าอะไร?

ฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายใช้น้ำตาล (กลูโคส) เป็นพลังงานเรียกว่าอินซูลิน โดยฮอร์โมนอินซูลินนี้ ถูกสร้างขึ้นโดยร่างกายในตับอ่อน และเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ก็จำเป็นต้องฉีด หรือรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ดังนั้น ทุกคนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 (เบาหวานที่พึ่งพาอินซูลินตั้งแต่ในเด็ก) ส่วนมาก็จะได้รับการบำบัดด้วยอินซูลิน ในขณะที่ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 บางคนจะต้องฉีดอินซูลินด้วย โดยอินซูลินมีอยู่หลายประเภท และโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อระยะเวลาในการออกฤทธิ์

อินซูลิน ถูกสร้างขึ้นมาจากตับอ่อน จริงหรือเปล่า

อวัยวะในร่างกายที่สร้างอินซูลินคือตับอ่อน โดยตับอ่อนนี้จะมีขนาดเท่ามือ มีตำแหน่งตั้งอยู่หลังส่วนล่างของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหารในลำไส้ และสร้างฮอร์โมน รวมทั้งอินซูลิน ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

เบาหวานชนิดที่ 1 และ เบาหวานชนิดที่ 2 ต่างกันอย่างไร?

โรคเบาหวานประเภท 1 เคยถูกเรียกว่าเบาหวานในเด็ก เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในวัยเด็กอันเป็นผลมาจากตับอ่อนที่มีความผิดปกติตั้งแต่เกิด ซึ่งทำให้ผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ หรือ ผลิตอินซูลินไม่ได้เลย ในทางตรงกันข้ามกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เคยถูกเรียกว่าเบาหวานที่เริ่มมีอาการในผู้ใหญ่ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะได้รับการวินิจฉัยในภายหลังเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายมีปัญหาเกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่ออินซูลินที่ผิดปกติ และไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้ รวมถึงอาจมีความผิดปกติในการผลิตอินซูลินของตับอ่อน

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 แบบไหนที่คนเป็นมากกว่ากัน?

โรคเบาหวานประเภท 2 มีคนเป็นมากกว่าโดยคิดเป็นประมาณ 90% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด ซึ่งพบได้บ่อยกว่าโรคเบาหวานประเภท 1

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เป็น โรคเบาหวานประเภท 2 คืออะไร

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด สำหรับโรคเบาหวานประเภท 2 คือการมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน โดยเกือบ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งทำให้ร่างกายไม่ตอบสนองต่อการใช้อินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (กลูโคส) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ สำหรับโรคเบาหวานประเภท 2 ได้แก่ อายุ เชื้อชาติ การตั้งครรภ์ ความเครียด ยาบางชนิด พันธุกรรมหรือประวัติครอบครัว และคอเลสเตอรอลสูง

โรคเบาหวานประเภท 2 จะป้องกันได้หรือไม่?

ใช่แล้ว โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยทั่วไปสามารถป้องกันได้ ด้วยการลดน้ำหนักเพียง 5-10% ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เช่น การออกกำลังกาย อาจป้องกันหรือชะลอการพัฒนาของโรคเบาหวานประเภท 2 ในบุคคลที่มีความเสี่ยง ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคเบาหวานประเภท 2 คือการรักษาน้ำหนักให้แข็งแรง เพิ่มกิจกรรม และลดน้ำหนักหากคุณมีน้ำหนักเกิน

การกินหวาน หรือ น้ำตาลมากเกินไปทำให้เป็นเบาหวานได้จริงหรือ?

เป็นความเข้าใจที่บอกต่อๆกันมาที่ว่า การกินน้ำตาลมากเกินไปทำให้เกิดโรคเบาหวาน ซึ่งในคนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 นั้นเป็นกรรมพันธุ์ และไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ในขณะที่เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นการผสมผสานระหว่างพันธุกรรมและวิถีชีวิต เมื่อกินหวาน หรือ น้ำตาล มากขึ้น ก็จะได้รับแคลอรี่เพิ่มขึ้น อาจจะทำให้อ้วน มีน้ำหนักเกิน จนเป็นปัจจัยเสี่ยงในการทำให้เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ในงานวิจัยพบว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลจะมีผลต่อการทำให้เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหวาน เช่น โซดาปกติ ฟรุตพันช์ เครื่องดื่มผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่ ชาหวาน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลอื่นๆ เพื่อช่วยป้องกันโรคเบาหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มน้ำตาลในเลือด (กลูโคส) และสามารถให้พลังงานได้หลายร้อยแคลอรีต่อหนึ่งมื้อ!

อาการ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีอะไรบ้าง?

อาการของโรคเบาหวาน ที่พบได้ทั่วไป เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย และเมื่อยล้า ซึ่งอาการต่างๆก็จะเกิดจากภาวะของระดับน้ำตาลในเลือดสูง (ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง)

อย่างไรก็ตาม อาการอาจไม่ปรากฏในตอนแรกเนื่องจากอาการของโรคเบาหวานประเภท 2 จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป และเมื่อเวลาผ่านไปจึงค่อยเกิดอาการต่างๆตามมา เช่น กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยล้า กระสับกระส่าย คลื่นไส้ และเวียนศีรษะ หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก อาการอาจรุนแรงขึ้นจนเกิดความสับสน ง่วงซึม และแม้กระทั่งหมดสติ (โคม่าจากเบาหวาน ซึ่งเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์)

© All rights reserved. เบาหวานแชนแนล - เรื่องเล่าเบาหวาน