ภาวะแทรกซ้อนในช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานทั้ง 2 ชนิดโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก ซึ่งอาจรวมถึงการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของนํ้าลายและส่วนประกอบ การเพิ่มอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ การมีกลุ่มอาการแสบร้อนในช่องปาก แผลหายช้า และเพิ่มความชุกและความรุนแรงของการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ อาการปากแห้งและต่อมนํ้าลายพาโรติดโต นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายในช่องปากที่สัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคเบาหวานรวมถึงการสูญเสียฟัน การเกิดโรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์อักเสบและโรคของเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก โดยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอาจสัมพันธ์กับการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด
ปัญหาทางช่องปากที่เกิดจากเบาหวาน ได้แก่
- มีกลิ่นปาก
- ความรู้สึกเหนียวหรือแห้งในปาก
- อาการเจ็บปาก
- ริมฝีปากแตกแห้ง มีสีแดง
- มีอาการปากร้อน
- คอแห้ง
- ปัญหาในการเคี้ยวอาหารและการพูด
- ลิ้นแห้งและหยาบ
“วิธีป้องกันโรคทางช่องปากเบื้องต้นคือ การขูดหินน้ำลาย การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี”
โรคเบาหวานกับอาการปากแห้ง
ปากแห้งเป็นอาการหนึ่งของโรคเบาหวานที่สามารถพบได้ตั้งแต่ยังไม่ถูกวินิจฉัยว่า เป็นโรคนี้ อาการปากแห้งทำ ให้รู้สึกไม่สบายในปาก อาจเกิดแผลที่ทำ ให้เจ็บปวด มีแผลติดเชื้อและทำ ให้ฟันผุด้วย สาเหตุหนึ่งของการมีปากแห้งคือการรับประทานยา มีตัวยาหลายชนิดที่ทำ ให้เกิดอาการปากแห้งได้ (xerogenic medication) เช่น ยาแก้หวัด ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาคลายเครียด ยาที่ใช้ในการควบคุมระดับนํ้าตาล เป็นต้น เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักจะได้รับยาหลายตัวในการรักษาซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาเหล่านี้และทำ ให้มีอาการปากแห้งตามมา72 มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กับคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวานเกี่ยวกับอัตราการไหลของนํ้าลายและศึกษาผลของยาที่ใช้ในผู้ป่วยเบาหวานต่ออัตราการไหลของนํ้าลายด้วย โดยดูที่อัตราการไหลของนํ้าลายขณะพัก (resting flow rates) และอัตราการไหลของนํ้าลายเมื่อเคี้ยวขี้ผึ้งพาราฟฟิน (paraffin-wax) จากการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติเกี่ยวกับอัตราการไหลของนํ้าลาย ส่วนประกอบของนํ้าลายและจำ นวนเชื้อแบคทีเรียในนํ้าลาย จำนวนของยาที่ใช้ในแต่ละวันสัมพันธ์กับอัตราการไหลของนํ้าลายในกลุ่มควบคุม (p < 0.001) แต่ไม่สัมพันธ์กับอัตราการไหลของนํ้าลายในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและผลของ xerogenic medication ต่ออัตราการไหลของนํ้าลายในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมีมากกว่าในกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ก็ยังมีการศึกษาที่พบว่า อาการปากแห้งในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองมีความชุกมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่เป็นเบาหวานอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติ (p = 0.001)
โรคเบาหวานกับอาการฟันผุ
ได้มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเบาหวานกับโรคฟันผุ แต่ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนแต่อาการที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน คือ ไวต่อความรู้สึกในช่องปาก การเกิดโรคปริทันต์และความผิดปกติของนํ้าลาย ซึ่งไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ มีหลายการศึกษาที่รายงานถึงการเกิดฟันผุในผู้ป่วยเบาหวาน โดยพบว่าผู้ป่วยเบาหวานจะเกิดฟันผุได้ง่ายกว่ากลุ่มควบคุม แต่มีบางการศึกษาที่พบว่า ความชุกของการเกิดฟันผุในผู้ป่วยเบาหวานไม่ได้เพิ่มขึ้ของนํ้าลายในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและผลของ xerogenic medication ต่ออัตราการไหลของนํ้าลายในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมีมากกว่าในกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ก็ยังมีการศึกษาที่พบว่า อาการปากแห้งในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองมีความชุกมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่เป็นเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001)
นอกจากเบาหวานจะส่งผลต่อการเกิดโรคในช่องปากแล้ว ยังทำ ให้เกิดการสูญเสียฟันตามมาได้ในที่สุดถ้าหากไม่ได้รับการควบคุมและการรักษา
คำแนะนำเรื่องการดูแลช่องปาก
คำแนะนำของสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ แนะนำว่าผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับคำแนะนำในการดูแลช่องปากตนเองเป็นพิเศษ โดยการทำความสะอาดช่องปากและฟันปลอมทุกวัน ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และอาจต้องใช้ฟลูออไรด์เสริมอื่นๆ หรือ อมนํ้ายาบ้วนปากคลอเฮกซิดีน ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ ควรมาพบทันตแพทย์ทุก 3-6 เดือน ผู้ป่วยเบาหวานควรเลิกสูบบุหรี่ เพราะนอกจากจะมีผลดีต่อเบาหวานโดยตรงแล้ว ยังมีผลดีต่อสุขภาพช่องปากด้วย ส่วนประเทศไทยเราเอง นอกจากคำแนะนำจากหน่วยงานด้านทันตสุขภาพแล้ว ยังมีแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวานที่ออกโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2557 แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานไปรับการตรวจสุขภาพช่องปากประจำปีได้ฟรี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
นอกจากนี้ ควรจิบน้ำบ่อยๆ อมน้ำแข็ง เคี้ยวหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล หรือลูกอมปราศจากน้ำตาลเพื่อกระตุ้นการผลิตน้ำลาย หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดหรือเค็ม รวมทั้งเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช้ยาสูบ ใช้น้ำลายเทียม